เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์คือสภาวะระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์คืออะไร?

ระหว่างการตั้งครรภ์ ความต้องการอินซูลินของร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น อินซูลินคือฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากตับอ่อนที่ช่วยนำน้ำตาลจากคาร์โบไฮเดรตที่เราทานเข้าไปเข้าสู่เซลล์ เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน 

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้มากพอและระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป 

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักจะไม่แสดงอาการ ดังนั้น ผู้หญิงตั้งครรภ์เกือบทุกคนจึงได้รับโอกาสที่จะรับการตรวจเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์.   

ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะมีอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด แต่เกือบทุกคนจะให้กำเนิดทารกที่สุขภาพแข็งแรง การรักษาเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงของ: 

การรักษาเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

การติดตามผลเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์นั้นสามารถทำได้โดยแพทย์ทั่วไปของท่าน ผดุงครรภ์ หรือคลินิกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล การรักษาขั้นแรกจะประกอบด้วยสามวิธี: 

  1. การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังอาหาร 
  2. การเปลี่ยนอาหารที่ทาน 
  3. กิจกรรมทางกายประจำวัน 

การฝึกวัดระดับน้ำตาลในเลือด

านจะได้ฝึกการวัดระดับน้ำตาลในเลือดของท่าน เพื่อตรวจสอบว่าน้ำตาลไม่สูงเกินไป 

สำหรับช่วง 1-2 สัปดาห์แรก เราแนะนำว่าท่านควรวัดก่อนทานอาหารเช้า (ค่ากลูโคสในเลือดเมื่ออดอาหาร) และสองชั่วโมงหลังจากเริ่มทานอาหารเช้าและอาหารค่ำ (และอาจจะวัดหลังอาหารกลางวันด้วย) หลังจากนั้น ให้ปรับความถี่ในการวัดให้เหมาะสมกับผลกระทบของโรคที่ท่านได้รับ 

หลังจากปรับเปลี่ยนอาหารและกิจกรรมประจำวันของท่านแล้ว ค่ากลูโคสในเลือดของท่านควรมีค่าดังต่อไปนี้: 

  • กลูโคสในเลือดเมื่ออดอาหาร: ต่ำกว่า 5.3 มิลลิโมล/ลิตร 
  • 2 ชั่วโมงหลังจากเริ่มทานอาหาร: ต่ำกว่า 6.7 มิลลิโมล/ลิตร 

ถ้าท่านวัดได้ค่าสูงว่าค่าดังกล่าว 2 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ ท่านควรถูกส่งตัวต่อไปยังคลินิกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังอาหารและกิจกรรมอย่างใกล้ชิด และประเมินว่าท่านจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาลดน้ำตาลในเลือดหรือไม่ (เมทฟอร์มินหรืออินซูลิน) 

คำแนะนำเรื่องอาหารสำหรับเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

เป้าหมายของอาหารที่แนะนำให้ทานเมื่อเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก็คือเพื่อยืนยันว่าท่านและทารกของท่านจะได้รับสารอาหารจำเป็นที่เพียงพอ และน้ำตาลในเลือดของท่านไม่สูงจนเกินไป  

จะง่ายกว่าที่จะหลีกเลี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงถ้าท่านทานอาหารมื้อเล็กแต่บ่อยครั้ง แทนที่จะทานอาหารปริมาณมากไม่กี่มื้อ ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถลองทานอาหารมื้อหลัก 3 มื้อและของขบเคี้ยวเล็กน้อย 2-3 ครั้ง ถ้าระยะห่างระหว่างอาหารค่ำกับอาหารเช้ายาวนาน (นานกว่า 10-12 ชั่วโมง) ท่านอาจจะอยากทานอาหารมื้อเย็นขนาดเล็กที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน  

สำหรับอาหารค่ำและอาหารกลางวัน ท่านสามารถใช้โมเดล “จาน” ได้: 

  • ผัก 1/2 จาน 
  • แหล่งคาร์โบไฮเดรตใยอาหารสูงไม่เกิน 1/4 จาน (พาสตาธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวเจ้าเต็มเมล็ด ขนมปังพิต้าแบบหยาบ มันฝรั่งต้ม) 
  • แหล่งโปรตีน 1/4 จานขึ้นไป (ปลา ไก่ เนื้อ ถั่ว เต้าหู้) 

อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต

ถ้าท่านทานอาหารที่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลในเลือดของท่านจะสูงขึ้น น้ำตาลในเลือดของท่านจะสูงขึ้นมากแค่ไหนจะขึ้นอยู่กับประเภทของคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในอาหารนั้น ปริมาณที่ท่านทานเข้าไป และส่วนประกอบของอาหาร 

แนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าท่านควรจำกัดการทานคาร์โบไฮเดรตในอาหารมื้อเช้า เพราะอินซูลินมักจะทำงานได้ไม่ค่อยดีนักในตอนเช้า 

ท่านควรเลือก:

  • อาหารที่มีใยอาหารสูงที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นช้ากว่า เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่ว ถั่วเลนทิล นัท และผัก 
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีธัญพืชเต็มเมล็ดและเมล็ดที่มาจากธัญพืช 75-100% (4 ช่องตามสเกลความขรุขระ)  
  • ขนมปังที่ทำจากไรย์ บาร์เลย์ โอ๊ต และข้าวสาลีเต็มเมล็ดที่มีส่วนประกอบของแป้งบดละเอียดต่ำ 
  • พาสตาที่ทำมาจากธัญพืชทั้งเมล็ดและข้าวเจ้าแบบเต็มเมล็ด ไม่ใช่ประเภทปกติ 

ปริมาณผลิตภัณฑ์ธัญพืชเต็มเมล็ดจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับค่าระดับน้ำตาลในเลือดของท่านได้ ปริมาณต่อมื้อที่เหมาะสมอาจเป็นดังนี้: ข้าวเจ้าหรือพาสตาปรุงมาแล้ว 5 ช้อนโต๊ะ, ขนมปัง 1 แผ่น, ขนมปังพิต้า ½ แผ่น, มูสลี่ 30 กรัมหรือข้าวโอ๊ตบดปรุงสุก 110 กรัม 

หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีการเติมน้ำตาลเข้าไปในปริมาณมาก ใยอาหารต่ำ และคุณค่าทางโภชนาการต่ำที่จะทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เช่น เค้กและขนมอบยีสหวาน บิสกิตเกือบทุกชนิด มันฝรั่งแผ่นทอด วอฟเฟิล/แพนเค้ก ฟลัฟ/พิซซ่า ข้าวเจ้าขาว โจ๊ก โยเกิร์ตเติมน้ำตาล ธัญพืชเติมน้ำตาลหรือที่มีใยอาหารต่ำ (เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีรูปรูกุญแจ) น้ำผลไม้/น้ำผัก เครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล ลูกอม แยม และน้ำผึ้ง 

ให้ใช้สารทดแทนน้ำตาลถ้าท่านต้องการเพิ่มความหวานให้อาหารของท่าน และเลือกอาหารที่ผสมสารให้ความหวานสังเคราะห์ แทนอาหารที่เพิ่มน้ำตาลเข้าไป 

ดื่มน้ำเปล่าเมื่อกระหายน้ำ 

ถ้าบางครั้งท่านอยากทานขนมหวานหรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง ให้ท่านปริมาณน้อยหลังมื้ออาหาร 

ผัก ผลไม้ และเบอร์รี

หญิงตั้งครรภ์ควรทานผัก ผลไม้ และเบอร์รี 500-800 กรัมทุกวัน 

ผลไม้มีวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารที่มีประโยชน์ แต่ก็มีน้ำตาลตามธรรมชาติอยู่ด้วย ควรทานผลไม้วันละหนึ่งถึงสามหน่วยบริโภคต่อวัน แต่ไม่เกินหนึ่งหน่วยบริโภคต่อมื้อ บางคนควรหลีกเลี่ยงผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้า หน่วยบริโภคได้แก่แอปเปิล แพร์หรือส้ม ½-1 ผล หรือเบอร์รี 1-2 เดซิลิตร ผลไม้อย่างเช่นกล้วย มะม่วง สับปะรด และองุ่นนั้นมีน้ำตาลสูงกว่าผลไม้อื่นและควรทานแต่น้อย ท่านควรหลีกเลี่ยงผลไม้แห้ง  

  • ทานดอกกะหล่ำ บรอกโคลี ผักกาดหอม ผักโขม มะเขือเทศ แตงกวา พริกหยวก ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ฯลฯ ได้มากเท่าที่ท่านต้องการ  
  • เพิ่มผักเข้าไว้ในอาหารจานหลักทุกจาน 
  • พยายามทานผักดิบแทนผักปรุงสุก/คั้นน้ำ เพราะผักดิบจะเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้น้อยกว่า 

ผลิตภัณฑ์จากนม

ผลิตภัณฑ์จากนมเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียม ไอโอดีน และโปรตีน นม โยเกิร์ตไร้น้ำตาล และคีเฟอร์ประกอบด้วยน้ำตาลในนมและควรทานไม่เกิน 1 แก้วต่อมื้ออาหาร เนยแข็งประกอบด้วยน้ำตาลในนมเล็กน้อยและจะส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดได้เพียงเล็กน้อย 

อาหารที่มีโปรตีนและไขมัน 

โปรตีนมีผลต่อน้ำตาลในเลือดเล็กน้อย และท่านควรทานอาหารที่มีโปรตีนในเกือบทุกมื้ออาหารและของขบเคี้ยว ตัวอย่างเช่น เนื้อสะอาดและไก่ ปลา ไข่ คอตเทจชีส กรีกโยเกิร์ต เนยแข็ง ถั่ว ถั่วเลนทิล เมล็ดพืช และนัท 

เนื้อสับ ไส้กรอก และผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูปอื่นจะประกอบด้วยไขมันอิ่มตัวจำนวนมากและดังนั้นจึงไม่ควรทานมากเกินไป นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูปยังมีส่วนทำให้หลายคนมีน้ำหนักตัวสูงขึ้นด้วย 

ไขมันไม่เพิ่มน้ำตาลในเลือด แต่มีแคลอรีสูงและควรทานในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำหนักที่มากเกินไป ควรทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณเล็กน้อย เช่น นัท เมล็ดพืช อะโวคาโด มะกอก น้ำมันมะกอก/เรฟซีด/ดอกทานตะวัน มาการีนนิ่มจากผัก และน้ำมันปลา 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของปลาที่ท่านควรหลีกเลี่ยงเวลาตั้งครรภ์ (ในภาษานอร์เวย์)

กิจกรรมทางกายสำหรับเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

กิจกรรมทางกายจะทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงเป็นส่วนสำคัญของการรักษาอาการเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ 

พยายามขยับเขยื้อนร่างกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยท่านต้องใช้ร่างกายของท่านให้หนักพอจนท่านรู้สึกว่าหายใจเร็วขึ้นและเหงื่อออกเล็กน้อย  

นอกจากนี้ การทำกิจกรรมทางกายเป็นประจำในชีวิตประจำวันนั้นสามารถช่วยท่านให้รู้สึกดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ 

  • กิจกรรมหลังอาหารจะช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือด 
  • ท่านสามารถแบ่งกิจกรรมออกเป็นส่วนย่อยได้ เช่น ออกกำลังกายครั้งละสิบนาที 
  • การเดิน 30 นาทีในเกือบทุกวันของสัปดาห์คือเป้าหมายที่ดีถ้าปกติแล้วท่านไม่ได้ออกกำลังบ่อยนัก 

อ่านเพิ่มเติมเรื่องกิจกรรมทางกายระหว่างตั้งครรภ์ (ในภาษานอร์เวย์)

หลังคลอด

อาการเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักจะหายไปเองหลังคลอด แต่หญิงที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นเบาหวานประเภท 2(ในภาษานอร์เวย์)ในเวลาต่อมาในชีวิต ถ้าท่านปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องอาหาร(ในภาษานอร์เวย์) และกิจกรรมทางกาย(ในภาษานอร์เวย์)ของสำนักงานสาธารณสุขแห่งนอร์เวย์ และมีน้ำหนักร่างกายปกติ ความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานประเภท 2 ก็จะลดลงอย่างมาก

ถ้าท่านเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ท่านควรไปพบแพทย์ของท่านเมื่อเวลาผ่านไปสี่เดือนหลังคลอด และจากนั้นก็ไปปีละครั้งเพื่อตรวจว่าน้ำตาลในเลือดของท่านอยู่ในระดับปกติ  

ถ้าท่านเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ท่านจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์อีกในอนาคต การป้องกันเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดก็คือการมีน้ำหนักร่างกายที่ปกติก่อนจะตั้งครรภ์และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์ 

 

​Nasjonal faglig retningslinje for svangerskapsdiabetes (ISBN 978-82-8081-514-9). https://helsedirektoratet.no/retningslinjer/svangerskapsdiabetes        

Innholdet er levert av Helsedirektoratet

Sist oppdatert วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567